ให้เลวกว่านี้

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริของในหลวง



โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
*****************************************************

พระราชดำริเมื่อ
             อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง  เป็นโครงการที่  นายบุญเท่ง  วงศ์ทอง (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ผู้ใหญ่บ้าน 
หมู่ที่ บ้านทุ่งกล้วย  ตำบลบ้านเอื้อม  อำเภอเมืองลำปาง  จังหวัดลำปาง  ได้มีหนังสือขอพระราชทาน
พระมหากรุณาธิคุณ ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร ซึ่ง
ขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตร และขอให้ทรงรับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 
 ซึ่งกรมชลประทานโดยสำนักชลประทานที่ 2   ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า  โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง
มีความเหมาะสมที่จะดำเนินการได้ในลักษณะงานชลประทานขนาดเล็ก ขนาดความจุประมาณ 771,700
ลูกบาศก์เมตร  สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกได้ ประมาณ 2,600 ไร่
             สำนักราชเลขาธิการ  ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  รับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง  ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ 
ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ  ที่ รล 00055.4/430  ลงวันที่ 10 มกราคม 2547

สถานที่ตั้ง
             โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง  ตั้งอยู่ที่พิกัด 47Q NA 389-391  ระวาง 4845 I  ตามแผนที่มาตราส่วน
 1 : 50,000 ( ชุด L7018) อยู่ในเขตบ้านทุ่งกล้วย  หมู่ที่ ตำบลบ้านเอื้อม  อำเภอเมืองลำปาง  จังหวัดลำปาง                            

วัตถุประสงค์ของโครงการ
             เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำบรรเทาความเดือดร้อนในการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตร
และอุปโภค-บริโภค
ของราษฎร ได้อย่างเพียงพอตลอดปีและมีประสิทธิภาพ
สภาพทั่วไป
             สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงเชิงเขา  มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ ลำห้วยแม่ต๋ำ
หลวงไหลผ่าน
หมู่บ้านทุ่งกล้วย  พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร

สภาพการเกษตร
             ราษฎรในพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร
เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ 
พื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน คือ ข้าว  ในฤดูแล้งส่วนใหญ่เป็นข้าวโพดและถั่วต่าง ๆ

ลักษณะโครงการ
             การดำเนินโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง  ประกอบด้วย
ทำนบดิน
                    - ทำนบดิน ขนาด สันทำนบกว้าง 8.00 ม.  ยาว 139.00 ม.  สูง 20.00 ม.  
จำนวน 1 แห่งความจุ  
 771,730     ลบ.ม.         
                ทางระบายน้ำล้น
 - งานทางระบายน้ำล้นแบบรางเทคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดสันกว้าง 8.00 ม. ยาว 250.00 ม.
                ท่อส่งน้ำฝั่งขวา
                    - งานท่อส่งน้ำ ขนาดท่อ 0.60 ม.  ยาว 90.00 ม.  จำนวน 1 แห่ง
                ท่อแยก
                    - งานท่อแยก ขนาด 0.40 ม. ยาว 30.00 ม.  จำนวน 1 แห่ง

ระยะเวลาดำเนินการ
                ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (ปีงบประมาณ 2548) งบประมาณค่าก่อสร้าง 21,750,000 บาท

ประโยชน์ที่ได้รับ
             ช่วยในการส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกของราษฎรทั้งหมด 7 หมู่บ้านได้อย่างทั่วถึง
(จากการออกแบบและการคำนวณปริมาณน้ำ  สามารถส่งน้ำในฤดูฝนครอบคลุมพื้นที่
ประมาณ 2,600 ไร่ 
และในฤดูแล้งประมาณ 600 ไร่ ซึ่งในปี 2548 มีประชากร จำนวน  740  ครัวเรือน  ประชากร 2,856  คน)

กิจกรรมการใช้ประโยชน์
              อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง  เริ่มเก็บกักน้ำตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2549  และได้ดำเนินการเพาะปลูก
ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  โดยนายเสถียร  ขันปิงปุ๊ด  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ และนายสงวน  ปรูวรรณ 
 ประธาน อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำหลวง 
 พร้อมด้วยหัวหน้าเหมืองฝาย  ได้ร่วมกันบริหารจัดการ และควบคุมการส่งน้ำในพื้นที่ทั้งหมด
              โครงการชลประทานลำปางได้เข้าประชุมจัดตั้งกลุ่มพื้นฐานในปี พ.ศ. 2551 เพื่อเตรียม
จัดตั้งกลุ่มบริหารผู้ใช้น้ำของกรมชลประทาน ประกอบด้วย เหมืองฝาย จำนวน 24 แห่ง สมาชิก 696  คน 
มีพื้นที่จำนวน  3,770-1-59  ไร่ ได้แก่
                 1.  ฝายฝาคอก                    13. ฝายสบอิบ                    
                 2.  ฝายทุ่งปงกุ่ม                  14. ฝายทุ่งวันตก
                 3.  ฝายทุ่งปงผักเฮือก            15. ฝายทุ่งนาปง
                 4.  เหมืองทุ่งคง                   16. ฝายทุ่งดง
                 5.  ฝายดอยโยด (น้ำหลง)       17. ฝายทุ่งต้นเดื่อ
                 6.  ฝายทุ่งกล้วย                   18. ฝายทุ่งใหม่ใต้
                 7.  ฝายทุ่งแม่อิบ 1                19. ฝายเจ้ารัตน์
                 8.  ฝายทุ่งแม่อิบ 2                20. ฝายแม่ต๋ำ
                 9.  ฝายทุ่งแม่อิบ 3                21. ฝายห้วยป่าคา
                10. ฝายทุ่งแม่อิบ 4                22. ฝายทุ่งหนอง
                11. ฝายทุ่งแม่อิบ 5                23. ฝายห้วยเกี๋ยง
                12. ฝายห้วยผ้า                     24. ฝายทุ่งใหม่เหนือ
              การเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง  ยังส่งน้ำได้เพียงพื้นที่ในหมู่ที่ 5, 12  ต.บ้านเอื้อม  พืชที่ปลูกส่วนใหญ่
  ได้แก่  ถั่วลิสง , อ้อย และถั่วเหลือง
ภาพโครงการ
 matom

http://www.rid.go.th/royalproject/index.php?option=com_content&view=article&catid=
23%3A2009-05-04-06-41-44&id=52%3A2009-05-15-02-49-19&Itemid=4
โครงการพระราชดำริฝนหลวง
ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง

"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ

เคยอ่านหนังสือทำได้..."


โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ
 ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหา
ขาดแคลนน้ำ
เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก
 ความผันแปร
 และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมด
เร็วกว่าปกติ
หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร
ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้
ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ
 เพราะนอก
จากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า
ยังเป็นสาเหตุ
ให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อน
ให้แก่ราษฎร ใน
ทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามี
เมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้
เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝน
ทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์
ที่จะช่วยให้
เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ
 และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุม
ของทวีปเอเชีย
โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย
จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน


ตามที่ทรงเล่าไว้ใน จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้าน
วิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่
ยอมรับทั้งใน
และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้
เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น
ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการ
ในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน
 ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว
 ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริง
ในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยาน
เขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid
carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต
 ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น
 ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่น
รวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อน
ตัวตามทิศทางลม
พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจ
ทางภาคพื้นดิน
และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด
นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
http://campus.sanook.com/u_life/knowledge_03058.php

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
1. ความเป็นมาและปัญหา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรใน

ชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้
ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่
พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้
การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์
 และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรง
ทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กิน
และมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทํา
ให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย
 ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมี
พระราชดําริให้พัฒนา
อาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ
โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการ
จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมาย
หลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
 ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ
300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการ
อนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ

 ผสมผสาน
เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง
เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบาง
โครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์;
ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา
การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว
การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว

ที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์
เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่
ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง
 รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร
ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้
 นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย

บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก
สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิจกรรมต่างๆ
 ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา
 และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้
ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน
 สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ
สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป
พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ

สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่งได้มีการสํารวจเบื้องต้น
และเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค
บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน

เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่
โครงการได้ความ
เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน

เนื่องมาจากพระราชดําริต่างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สําหรับการบริหารจัดการแหล่งน้ำ
บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกตฺ์ใช้ในพื้นที่
ใกล้เคียงที่มีสภาพ
อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำเพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง

มีแหล่งน้ำ
สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น

 ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง

เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ

 การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต

http://www.thainame.net/weblampang/arpakon/a10.html
พิมพ์ อีเมล

                                  

                       
           






 


















วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำอวยพรเปิดภาคเรียนใหม่...แด่เพื่อนๆ

เปิดภาคเรียนใหม่แล้ว..ขอไห้ผ่องแผ้วสุขสันต์
เรียนหนังสือ...ขอให้สนุกทั้งวัน
คิดสิ่งใดนั้น...ขอให้สมฤทัย
สมองจงปลอดโปร่ง...โล่งโปร่งใส
ทำงานส่งอาจารย์...ได้เร็วไว
ถึงสุดท้ายทำข้อสอบ...ได้เกรดA